วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอนวิชาภาษาไทย ป.2


ตราโรงเรียน.jpg

ท๑๒๑๐๑  ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐาน                                                                                     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                  

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒                                                                                                        เวลา   ๒๐๐  ชั่วโมง     

                   อ่านออกเสียง  ความหมายของคำ  คำคล้องจอง  บทร้อยกรองง่ายๆ  อ่านจับใจความ  นิทาน  เรื่องเล่าสั้นๆ  บทเพลงและบทร้อยกองง่ายๆ  เรื่องราวในบทเรียน  ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน  อ่านหนังสือตามความสนใจ  การอ่านข้อเขียนเชิงอธิบายและปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อเสนอแนะ  การคัดลายมือ  การเขียนเรื่องสั้นเกี่ยวกับประสบการณ์  ตามจินตนาการ  การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำคำสั่งที่ซับซ้อน  เล่าเรื่องที่ฟังและดูพูดแสดงความคิดเห็น  สาระสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู    การพูดแสดงความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู  จากเรื่องเล่า  สารคดี  นิทาน  การ์ตูน  เรื่องขบขัน  เพลง  การพูดสื่อสารแนะนำตนเอง  พูดขอความช่วยเหลือ  คำขอบคุณ  คำขอโทษ  การพูดขอร้องในโอกาสต่างๆ  ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน  การบอกและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์และเลขไทย  การเขียนสะกดคำการแจกลูก  การอ่านเช่นคำมาตราตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงตามมาตรการผันอักษรกลาง อักษรสูง  และอักษรต่ำ  คำที่มีตัวการันต์  พยัญชนะควบกล้ำ  อักษรนำ  คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน  คำที่มี รร  ความหมายของคำ  การแต่งประโยค  เรียบเรียงประโยคเป็นข้อความสั้นๆ  บอกลักษณะคำคล้องจอง  เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสม  การเลือกใช้ข้อคิดจากการอ่านนิทาน  เรื่องสั้นง่ายๆ  ปริศนาคำทาย  บทอาขยาน  บทร้อยกรอง  วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียน  ร้องบทร้องเล่นในท้องถิ่น  ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ
                   โดยใช้การฟัง  พูด  อ่านและเขียนเป็นกระบวนการคิด  มีทักษะทางภาษา  ทักษะการสื่อสาร  ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรม  รักชาติ  ศาสนา  กษัตริย์  พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนมีเหตุผล  สรุปเรื่องราวอย่างมีกฎเกณฑ์   ใช้ภาษาในการแสดงหาความรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน  มีคุณค่าทางจริยธรรม  รักความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ  
  เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทย  และตัวเลขไทย  มีวินัย  ซื่อสัตย์สุจริตใฝ่รู้ใฝ่เรียน  มุ่งมั่นในการทำงาน    อยู่อย่างพอเพียง  มีจิตสาธารณะ   สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด
ท ๑.๑         ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕, ป.๒/๖, ป.๒/๗, ป.๒/๘ 
ท ๒.๑        ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔ 
ท ๓.๑        ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕, ป.๒/๖, ป.๒/๗   
ท ๔.๑        ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕  
ท ๕.๑        ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓  
รวมทั้งหมด  ๒๗  ตัวชี้วัด


 
 



 
 



 
 











หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒๒                                         การฟัง การดู  และการพูด


เรื่องที่  ๓  แผนการจัดการเรียนรู้ที่๒  การพูดแนะนำตนเอง ๒ชั้นประถมศึกษาปี่ที่๒ เวลา ๑ ชั่วโมง                                                                                                                                                                                                                                                                                           


มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
 


                                                                                              

 

 

 

 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด
และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
ตัวชี้วัด
                มฐ.ท ๓.๑ ป.๒/๖  พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์
                มฐ.ท ๓.๑ ป.๒/๗  มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
                                           
   


จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
 




 

 


 ๑. สรุปความรู้เกี่ยวกับวิธีการแนะนำตนเอง (K)
๒. พูดแนะนำตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีมารยาท (P)
๓. ตระหนักในความสำคัญของการพูดแนะนำตนเองและประยุกต์ใช้จริงได้ (A)
                             


สาระสำคัญ
 



            การพูดแนะนำตนเองอย่างสุภาพเป็นมารยาทของคนไทย

         



สาระการเรียนรู้




๑. ความรู้

การพูดแนะนำตนเอง
๒. ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
                การปฏิบัติ/การสาธิต  การประยุกต์/การปรับปรุง  การประเมินค่า  การสรุปความรู้
 ๓. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มีวินัย รักความเป็นไทย


ความเข้าใจที่คงทน (Enduring Understanding)
                                                                  
 


                                                                                                                                   



นักเรียนสามารถสรุปได้ว่า การพูดแนะนำตนเองอย่างสุภาพเป็นมารยาทของคนไทย


ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน ร่องรอยแสดงความรู้)
 


       



กิจกรรมการพูดแนะนำตนเอง



คำถามท้าทาย
 






การคบเพื่อนดีจะส่งผลดีต่อเราอย่างไร




การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
 


  


๑.      ให้นักเรียนเขียนแนะนำตนเอง เพื่อนำมาพูดหน้าชั้นเรียน  ดังนี้


สวัสดี (ครับ/ค่ะ) (ผม/ดิฉัน) ชื่อ _____________________นามสกุล____________________
ชื่อเล่น_____________     พ่อชื่อ    ___________________แม่ชื่อ ______________________
ครอบครัวของ________    มีสมาชิก ________คน
งานอดิเรกคือ __________________________ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ชอบคือ ____________
โตขึ้นอยากจะเป็น___________________เพราะ___________________________________

 










. ครูให้ตัวแทนนักเรียนชาย ๑ คน และตัวแทนนักเรียนหญิง ๑ คน ออกมาพูดแนะนำตนเองแล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมารยาทในการพูด เพื่อนำไปใช้เป็นแบบอย่าง
                ๏ การใช้ถ้อยคำและกิริยาท่าทาง
                ๏ การใช้น้ำเสียง
                ๏ การออกเสียง  ร  ล  คำควบกล้ำ
                ๏ ความมั่นใจในตนเอง
. ให้นักเรียนจับคู่ เพื่อให้ฝึกการพูดแนะนำตนเอง ในขณะที่เพื่อนฝึกให้อีกคนคอยสังเกตพฤติกรรมการพูดของเพื่อนโดยให้คำแนะนำให้เพื่อนนำไปแก้ไขให้ดีขึ้น
. ครูคัดเลือกตัวแทนนักเรียนจำนวน ๓-๕ คน ออกมากล่าวคำแนะนำตนเองให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
หน้าชั้นเรียนทีละคน โดยครูให้คำแนะนำเพื่อให้นักเรียนนำไปปรับปรุงการพูดให้ดีขึ้น
. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้  การพูดแนะนำตนเองอย่างสุภาพเป็นมารยาทของคนไทย
๖. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
                ๏ การคบเพื่อนที่ดีจะส่งผลดีต่อเราอย่างไร


การจัดบรรยากาศเชิงบวก
 




              
ถ้าครูพบนักเรียนที่มีปัญหาในการพูด โดยเฉพาะไม่ยอมพูด ครูควรใช้คำถามถามนำให้นักเรียนตอบ เมื่อนักเรียนเริ่มพูด ครูต้องให้กำลังใจแสดงการยอมรับเด็กเป็นรายบุคคล





สื่อการเรียนรู้

 ๑. แผนภูมิรูปแบบการเขียนแนะนำตนเอง
๒. การพูดแนะนำตนเองของเพื่อน



การวัดและประเมินผลการเรียนรู้






๑. วิธีการวัดและประเมินผล
     สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
๒. เครื่องมือ
     แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
๓. เกณฑ์การประเมิน
     การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
           ผ่านตั้งแต่ ๒ รายการ         ถือว่า    ผ่าน
           ผ่าน ๑ รายการ                     ถือว่า    ไม่ผ่าน



ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา
 

   
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
____________________________________________________ __________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________


                                                             ลงชื่อ_________________________ (ผู้บริหารสถานศึกษา)
                                                                      (_________________________)        
                                                                        ________/________/_______






บันทึกหลังการสอน
 


                                                            


 

     ผลการจัดการเรียนการสอน
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________



 
 

    ปั­ญหา / อุปสรรค
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________



 

     แนวทางแก้ไข
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________

                                                                                                                                                                                                                             ลงชื่อ_____________________________ (ผู้บันทึก)
              (_________________________)
                                                                                               ________/________/_______